
แล้วเสี้ยวเล็กๆ ของ Snow Leopard ที่ถูก Steve Jobs พูดถึงใน Keynote ของงาน WWDC 08 ปีนี้เพียงไม่กี่วินาที ก็มีรายละเอียดเพิ่มเติมตามออกมา ว่าจะเน้นไปที่การปรับปรุงตัวโครงสร้างภายในมากกว่า ที่จะเพิ่ม feature หรือลูกเล่นใหม่ๆ ให้กับระบบปฏิบัติการของตนเอง โดยหัวข้อหลักๆ ที่ประกาศออกมาในเว็บของ ก็มีดังต่อไปนี้
- Snow Leopard
- Microsoft Exchange Support
- Multicore
- 64-bit
- Media and Internet
- OpenCL
- Snow Leopard Server
- iCal Server 2
- Collaboration
- Remote Access
- Multicore
- ZFS
- Podcast Producer 2
- Mail Server
- Podcast Producer 2
- Address Book Server
- 64-bit
- OpenCL
กลุ่มตลาดลูกค้าองค์กรธุรกิจ ยังเป็นกลุ่มที่ Apple ต้องพยายามเจาะเข้าไปให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone ที่ออกมานำร่องเรื่องการใช้งาน ActiveSync ร่วมกับ Microsoft Exchange Server ได้ ในเสือรุ่นถัดไป Apple ประกาศชัดออกมาแล้วว่าจะรองรับการใช้งาน ร่วมกับ Microsoft Exchange Server ได้ด้วย Native Application ของ Mac OS X เองเลย อย่าง Mail , Address Book และ iCal
จากประสบการณ์เลวร้ายจากความพยายามลองใช้ Entourage ร่วมกับ Exchange Server ของตัวเองก็ได้แต่คาดหวังว่า OS X ในรุ่นถัดไปจะช่วยให้สามารถใช้งานในส่วนนี้ ร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกันความพยายามที่จะเจาะกลุ่มลูกค้า องค์กร ด้วยผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ก็ไม่ได้หยุดไปแต่อย่างใด Snow Leopard Server ยังคงความพยายามในการปรับปรุงส่วนของ iCal Server , Collaboration , Mail Server และ Address Book Server ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นอีกความท้าทายของ Apple เอง ว่าจะสามารถเข้าไปแย่งที่ยืนเจ้าของพื้นที่เดิมได้อย่างไร
OpenCL อีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจ กับการนำเอาหน่วยประมวลผล GPU ที่ถูกแบ่งให้กับการแสดงผล มาใช้ในการประมวลผลด้านอื่น แทนที่จะปล่อยทิ้งไปเฉยๆ ในช่วงที่ไม่ได้ใช้งาน GPS กับการแสดงผลกราฟฟิกบนหน้าจอ
64-bit ยังไม่จบนะครับ ใน Leopard ก็ว่ากันมาแล้วเรื่อง 64-bit ในครั้งนี้ Apple ระบุว่าจะพัฒนาให้รองรับการใช้งานหน่วยความจำที่มากขึ้น ให้ดียิ่งขึ้น อ่านแล้วยังไม่แน่ใจกับรายละเอียดของมันเท่าไหร่ เพราะอันที่จริง Mac OS X นั้นก็รองรับ Physical Memory Addressing ที่มากกว่า 4GB มาตั้งแต่ Tiger อยู่แล้ว
Multicore ด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Grand Central จะช่วยให้เราใช้งานคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ของเราที่มีสถาปัตยกรรมแบบ Multicore Processor ได้ดียิ่งขึ้น
ดูแล้วทั้ง 3 เทคโนโลยี ล้วนเป็นหัวหอกในการรีดประสิทธิภาพการใช้งานฮาร์ดแวร์ กันทั้งนั้น ต้องคอยติดตามชมกันต่อไปว่าจะส่งผลให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพได้มาก ขึ้นแค่ไหน
ZFS เป็นเรื่องที่มีประเด็นอยู่ที่ว่า เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ Apple ระบุไว้ใน Snow Leopard Server แต่ไม่ได้ระบุไว้ในส่วนของ Snow Leopard เท่าที่จำได้ Leopard จะรองรับการอ่าน ZFS เพียงอย่างเดียวอยู่แล้ว Snow Leopard ก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน แต่ในส่วนของ Snow Leopard Server มีการระบุไว้ว่าจะสามารถใช้งาน ZFS ได้ทั้งการอ่านและเขียนข้อมูล โดยปกติวิสัยแล้วสิ่งที่เป็นพื้นฐานทำนองนี้ Apple น่าจะใส่ไว้ทั้งรุ่นที่เป็นการใช้งานทั่วไป และ Server เหมือนๆกัน อย่างไรก็ตามโดยการใช้งานแล้ว ZFS เองก็ไม่ใช่ยาวิเศษที่เหมาะกับงานทุกลักษณะ การเลือกที่จะให้ ZFS นำไปใช้งานในส่วนของ Server จะว่าไปก็เป็นย้ำถึงแนวคิดในการทำผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใช้ของ Apple เหมือนกับที่หลายๆอย่าง Apple คิดและทำแทนผู้ใช้ไปก่อนแล้ว และหลายๆท่านบอกว่านี่แหละเป็นเรื่องที่ Just work ^^
ทุกวันนี้แค่ตอน Graphic Designer ที่ทำงานที่เดียวกันติดตั้ง Mac OS X พอถึงขั้นตอนแบ่ง Partition แล้วมีให้เลือก File System ก็ยังถามกันให้ควั่กว่าจะเลือกอันไหนดีอยู่เลย และหาก ZFS ไม่ได้นำมาใช้กับ Snow Leopard นั่นก็น่าจะยิ่งชัดว่า Time Machine จะยังคงใช้วิธีการใช้การทำงานแบบเดียวกับที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน
Quick Time X เป็นเทคโนโลยีที่ Apple ระบุว่ามีการนำร่องใช้งานไปแล้วใน iPhone OS X ในรายละเอียดแล้วยังไม่ทราบว่า จะแตกต่างจาก Quick Time ปัจจุบันในส่วนไหนบ้าง มากน้อยแค่ไหน แต่คงไม่ใช่แค่เพิ่ม Codec ที่รองรับสำหรับการ Playback แน่นอน อนึ่ง Quick Time เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีอายุเก่าแก่มากอย่างนึงของ Apple ที่ยังได้รับการพัฒนาใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การไม่ได้ปรับเป็น Quick Time 8 แต่เลือกที่จะเปิดตัวเป็น Quick Time X น่าจะมีนัยสำคัญในตัวอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปิดตัวในงาน WWDC คงเป็นสิ่งที่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนา Application โดยใช้ Quick Time ของเหล่านักพัฒนาทั้งหลายเป็นแน่แท้
เป็นทิศทางที่น่าสนใจว่าการออก OS รุ่นใหม่ โดยที่ไม่ได้เน้นไปที่ feature ใหม่ที่ผู้ใช้จับต้องได้ชัดเจน ไม่ได้เน้นไปที่การปรับเปลี่ยน UI จะมีผลตอบรับจากผู้บริโภคไปในทิศทางไหน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น