Touching Core i7 920 World Record
![]() |
สวัสดีคร๊าบบบ.... กลับมาพบเจอกันอีกครั้งแล้วนะครับกับเรื่องราวแรงๆ เรื่องราวมันส์ๆในการโอเวอร์คล๊อกในแบบ Extreme ซึ่งวันนี้นั้นเราก็กลับมาพร้อมกับเรื่องราวที่ยังคงเป็นกระแสร้อนแรงที่สุด ในเวลานี้ และก็คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่เรื่องราวของการเปิดตัวซีพียูในเจเนเร ชันใหม่จากค่ายอินเทลที่รู้จักกันในนาม Nehalem แต่ในวันนี้นั้นเราไม่ได้จะมาพูดถึงเทคโนโลยีใหม่ๆเหมือนๆกับที่ผ่านมา เพราะว่าวันนี้เราจะมาพบกับการรีดเข็นพลังที่ซ่อนเร้นอยุ่ภายในของมัน เพื่อลองดูกันว่ามันจะมีพลังแอบแฝงอยุ่มากน้อยซักเพียงไร แต่ก่อนจะไปว่ากันที่เรื่องของการโอเวอร์คล๊อกในแบบสุดขีดนั้น หากว่าใครที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง แต่อยากทราบว่าเจ้า Nehalem ที่เราพูดไปนั้นมันคืออะไร ถ้าอยากทราบก็สามารถเข้าไปติดตามได้จากบทความเปิดตัวที่เราได้นำเสนอกันไป เมื่อประมาณอาทิตย์ที่ผ่านมานี่เองนะครับ แต่ถ้าใครที่ทราบกันดีอยู่แล้วเราก้มาติดตามชมกันเลยนะครับว่า วันนี้กับการ Overclock ในแบบ Extreme ด้วยซีพียูที่เพิ่งจะเปิดตัวไปหมาดๆชนิด " ผายลมยังไม่ทันจะหายเหม็น " เราจะทำผลงานออกมาได้ดีซักขนาดไหน และจะจริงเท็จอย่างไรกับหัวข้อที่เราจั่วไว้ เราลองมาชมกันเลยครับ |
ก็ คงไม่ต้องมีหนังไตเติ้ลหรือบทนำร่ายยาวให้เสียเวลา เรามาเข้าประเด็นกันเลย สำหรับวันนี้ซีพียูที่เราเลือกมาเพื่อทำการแช่แข็งก็จะเป็นซีพียูในโมเดล น้องเล็กในตระกูลกับ Intel Core i7 920 ซึ่งหลายๆคนในที่นี้ก็คงจะได้เห็นประสิทธิภาพของมันกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นครั้งเปิดตัวหรือกับการทดสอบเมนบอร์ดทั้งสามโมเดลที่เพิ่งจะ ผ่านพ้นไป และวันนี้มันก็กำลังจะโดนแช่แข็งแล้ว โดยเมนบอร์ดที่เราเลือกจับคู่มาร่วมชะตากรรมนั้นก็จะเป็นเมนบอร์ดจากทาง GIGABYTE ในโมเดล EX58-UD5P ที่เพิ่งจะผ่านสู่สายตากันไปชนิดสดๆร้อนๆเช่นกัน เอาหละก็ขอสรุปสเป็คโดยรวมทั้งหมดที่เราหยิบมาทำการรีดประสิทธิภาพของ i7 920 ในวันนี้กันนะครับ |
ตรง นี้ก็ไม่มีอะไรมากครับ เพียงแค่เอามาให้ชมกันว่าเมโมรีที่เราใช้นั้นเป็นแบบ Triple-Channel Mixed pair โดยที่จะเป็นเมโมรีจากสองโมเดลที่มาทำงานร่วมกัน แต่ด้วยที่สเป็คค่อนข้างต่างกันมากก็เลยทำให้เราโดนบังคับให้ต้องเล่นไทมิ่ง ในแบบหลวมๆ และไม่ใช่หลวมธรรมดา เพราะหลวมกันสุดๆ ก็เลยหยิบเอามาให้ได้ชมกันก่อนที่จะสงสัยว่าเหตุใดเราจึงใช้ไทมิ่งที่หลวม ยิ่งนัก !!! |
Max Validation - Core i7 920 WR (11/11/08) |
![]() |
กระโดด มาเข้าประเด็นกันเลยครับ.... และนี่ก็คือผลงานที่ดีที่สุดของเราในวันนี้ ก็ทำออกมาได้เท่าที่เห็นนี่หละครับสำหรับ Core i7 920 จากความเร็วเดิมๆที่ 2.66GHz ที่สามารถลากมันมาได้ไกลกว่า 4.65GHz และบอกกันเลยว่าที่ความเร็ว 4.65GHz ตรงนี้นั้น แม้จะใช้ LN2 ในการระบายความร้อนแต่อุณหภูมิที่เราเลี้ยงไว้นั้นแค่แถวๆ -30 ํC เท่านั้นครับ |
SuperPi 1M @4.65GHz (221x21) |
![]() |
มา ชมกันต่อเลยครับหลังจากได้เห็นความเร็วในระดับ WR ของ I7 920 กันไปแล้วว่ามีความเร็วขนาดไหน ตรงนี้เรามาดูกันอีกซักนิดหน่อยว่านอกจากมันจะ Validate ได้แล้วนั้นมันยังทำอะไรได้อีกบ้าง ก็เริ่มที่โปรแกรมทดสอบยอดฮิตติดอันดับอย่าง SuperPi ซึ่งที่ความเร็ว 4.65GHz นั้นกับระดับการทดสอบ 1M ก็ผ่านฉลุยครับ !!! |
SuperPi 32M @4.65GHz (221x21) |
![]() |
นอก จาก SuperPi 1M แล้วนั้นในระดับ 32M ก็ยังผ่านฉลุยไร้ปัญหาเช่นกัน.... แว๊ปมาดูเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วซีพียูแล้วยอมรับเลยครับว่า Nehalem นี่รัน SuperPi ได้รวดเร็วทันใจจริงๆ แม้ว่ายังไม่มีการ Tweak ใดๆก็ตามที |
Other Benching |
HexusPifast @4.65GHz |
![]() |
อีกซักหน่อยกับความเร็วในระดับ WR กับ HexusPifast ซึ่งก็จบลงด้วยเวลาเพียง 19.34 เท่านั้น |
Wprime 1.55 @4.6GHz |
![]() |
สำหรับ Wprime ก็จบลงด้วยเวลาเพียง 5.767 วินาที
Max 3DBenching
ก่อน ที่เราจะไปชมกันที่ผลการทดสอบ ขออนุญาตวิชาการอีกซักหน่อยคั่นรายการนะครับ เพราะคิดว่าหลังจากที่เห็นความเร็วซีพียูที่ขยับขึ้นไปกว่า 4.6GHz แต่เรื่องความเร็วซีพียุนั้นคงไม่ใช่ประเด็นใหญ่ แต่ประเด็นใหญ่คงจะอยู่ที่เรื่องของอัตราตัวคูณ ที่บางท่านเห็นแล้วอาจจะงงกันว่าเหตุใด i7 920 ที่เราทดสอบกันไปมีตัวคูณที่ระดับ 21x มาให้ใช้งานด้วย ??? เพราะจริงๆแล้วมันจะมีมาให้สูงสุดเพียง 20x เท่านั้น !!! ใช่แล้วครับมันมีมาให้ปรับเพียง 20x แต่ถ้าท่านเปิดใช้ฟังก์ชัน Intel Turbo Mode แล้วมันก็จะจัดสรรค์ให้เราเพิ่มมาให้อีกหนึ่งระดับ แต่สำหรับฟังก์ชันดังกล่าวนี้นั้นมันจะสามารถรักษาระดับตัวคูณไว้ที่ 21x ไว้ได้ตลอดเวลาก็ต่อเมื่อซีพียูถูกเรียกใช้งานสูงสุดเพียง 2 เทรด แต่ถ้ามีงานมากกว่า 2 เทรดเมื่อใด ระดับตัวคูณก็จะถูกลดลงเหลือที่ระดับ 20x ทันที ซึ่งเราก็มีตัวอย่างมาให้ชมกันทางด้านบนว่า หากมีงานแค่ 2 เทรดนั้นตัวคูณของซีพียูก็จะยังคงรักษาไว้ที่ 21x เอาหละครับก็หวังว่าคงจะเข้าใจทั้งข้อมูลที่ให้ไปและเจตนาที่จะสื่อให้ได้ ทราบ ต่อจากนี้ไปก็ไปชมผลงานของ I7 920 กันต่อเลยครับ |
3DMark 2003 |
สำหรับ 3DMark03 นั้นเป็นโปรแกรมที่จะเรียกใช้ซีพียูเพียง 2 เทรดเท่านั้น ตรงนี้กับผลที่ออกมาก็คือประสิทธิภาพ ณ ความเร็ว 4.55GHz ตามที่แสดงอยุ่บน CPU-Z นั่นหละครับ |
3DMark 2005 |
3DMark03 ก็เช่นเดียวกันกับ 3DMark03 ที่จะใช้ซีพียูเพียง 2 เทรด |
3DMark 2006 |
สำหรับ 3DMark06 นั้น ประสิทธิภาพที่ได้มาตรงนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการ Benchmark ที่ความเร็วซีพียุจริงที่ 4.3GHz เท่านั้น ส่วนเหตุผลก็ได้อธิบายไว้แล้วทางด้านบน
PCMark05
ชัดเจน ครับกับโปรแกรมที่เรียกใช้ CPU ในแบบ Multi-Thread อย่าง PCMark05 นั้นความเร็วจริงในการทดสอบก็จะเป็น 4.3GHz เช่นเดียวกันกับ 3DMark06 นั่นหละครับ |
Conclusion |
สำหรับเรื่องราวทั้งหมดในวันนี้จริงๆนั้น ประเด็นของมันจริงๆก็จะอยู่ที่ความเร็วของเจ้า Core i7 920 ที่เราสามารถพามันไปโลดแล่นด้วยความเร็วในระดับ World Record กับความเร็วกว่า 4.6GHz เท่านั้นแหละครับ แต่ส่วนองค์ประกอบอื่นนั้นก็ถือว่าเป็นเพียงน้ำจิ้ม ที่เราได้ทำการ Benchmark มาให้ได้ชมกันว่าสามารถทำการทดสอบอะไรได้บ้างและที่ความเร็วระดับใดบ้าง ส่วนเรื่องผลคะแนนที่ออกมาจากทั้งหมดนั้นถือว่าอยุ่ในเกณฑ์ที่ยังไม่ถือว่า โดดเด่นแต่อย่างไร เพราะถ้าดูกันจริงๆแล้วบางอย่างยังมีคะแนนที่ด้อยกว่า Core 2 Duo ที่เราได้เคยนำเสนอกันไป เพราะว่าหลายๆอย่างในเวลานี้สำหรับการทดสอบนั้นยังคงอ้างอิงกับความเร็วของ ซีพียุเป็นหลักนั่นเอง แต่สำหรับในอนาคตคาดว่าโปรแกรมทดสอบต่างๆคงจะรองรับในเรื่อง Multi-Thread มากขึ้นอย่างแน่นอน ถึงเวลานั้นซีพียูหลายคอร์หลายเทรดจึงจะได้เปรียบขึ้นมาเห็นๆ ส่วนเวลานี้ก็คงยังต้องอาศัยเร็วเข้าว่าไว้ก่อนหละครับ แต่แม้ว่าวันนี้เรายังจะไม่ได้เห็นคะแนนในแบบล้นหลามจาก Nehalem กับในเรื่อง Extreme Overclock ถึงกระนั้นก้ถือว่าประสบผลสำเร็จไปด้วยดีกับการที่ได้สัมผัสกับความเร็วใน ระดับ WR ซึ่งเราจะยังคงไม่หยุดอยู่แต่เพียงเท่านี้แน่นอน แล้วมารอชมในตอนต่อไปกันนะครับว่าจะมีอะไรแรงๆมาให้ได้ชมกันอีกหรือไม่ ส่วนวันนี้ก้ต้องขอตัวก่อนนะครับ
http://overclockzone.com/zolkorn/year2008/11/core_i7_920WR/index.htmlสวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น