อังกฤษได้ให้กำเนิดเด็กที่ปลอดยีนมะเร็งเป็นคนแรกในประเทศ
มารดาที่เป็นผู้หญิงคนแรกในอังกฤษได้ให้กำเนิดบุตรที่เกิดจากการคัดเลือกให้ปลอดจากยีนที่ซึ่งจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้สำเร็จ นักวิจัยมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนได้ทำการคลอดทารกที่โตจากตัวอ่อนที่ถูกคัดเลือกว่าไม่มียีน BRCA1 ที่ผิดพลาดอยู่ในตัวอ่อน
มารดาวัย 27 ปีที่ต้องการปกปิดชื่อได้ตัดสินใจที่จะใช้ขั้นตอนดังกล่าวเนื่องจากญาติฝ่ายหญิงของสามีเธอประสบปัญหาการเป็นมะเร็งเต้านมหลายคน
เด็กผู้หญิงที่เกิดมาโดยมียีน BRCA1 นั้นจะมีโอกาสเสี่ยงถึง 80% ที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งเต้านมและมีโอกาสเสี่ยง 60% ที่จะเป็นมะเร็งรังไข่ เท่า ๆ กับมีความเสี่ยง 50% ที่จะส่งต่อความผิดปกตินี้ไปยังบุตรหลาน แพทย์ระบุว่าผู้ปกครองต้องการที่จะปลดเปลื้องเพื่อยืนยันว่ายีนที่ผิดปกติดังกล่าวจะไม่ส่งต่อไปยังลูกสาว ซึ่งทำให้เด็กจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับการพัฒนาของยีนดังกล่าวไปเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่เมื่อดตขึ้น
ผู้ปกครองจะสามารถไม่ส่งต่อความเสี่ยงของโรคร้ายไปยังบุตรสาวได้ ซึ่งการแพร่กระจายของการส่งต่อมะเร็งดังกล่าวจากรุ่นสู่รุ่นต้องหยุดลงในช่วงยุคหนึ่งไป ทางมารดาของเด็กได้ระบุว่า พวกเขาเชื่อว่ามันมีความเป้นไปได้ที่จะกำจัดยีนดังกล่าวในลูกหลานเค้า ซึ่งเป็นหนทางที่ผู้ปกครองจะต้องเลือกเดิน
เทคนิคที่ใช้ในกระบวนการคัดเลือกนี้รู้จักกันในชื่อ pre-implantation genetic diagnosis ซึ่งใช้ในการคัดเลือกตัวอ่อนที่ถูกผสมเทียมจากโรคทางพันธุกรรมอย่าง cystic fibrosis ซึ่งทางอังกฤษได้อนุญาติให้ใช้วิธีนี้ในปี 2006 วิธีการคัดเลือกดังกล่าวนั้นค่อนข้างหายากแต่ยังถูกใช้เพื่อในการคัดเลือกตัวอ่อนเพื่อมะเร็งเต้านมในสหรัฐอเมริกาและเบลเยี่ยมไปแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น